ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
ช่วงนี้คงได้ยินคำว่า ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
ต้องขอออกตัวก่อน คดีที่ดังอยู่ขณะนี้ ทนายไม่ทราบ
รายละเอียด จึงไม่สามารถให้ความเห็นได้ ต้องเคารพ
ในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ จึงทำได้เพียงวิเคราะห์
ศัพท์ทางกฎหมายเท่านั้น
คำว่า ถูกผู้อื่นทำให้ตาย แท้จริงแล้ว ถ้าคนทำงาน
ด้านกฎหมายจะได้ยินกันอยู่เป็นประจำ เพราะถือเป็น
คำศัพท์ที่ใช้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 148 ประมาณว่า มีการตายในระหว่างอยู่ใน
ความควบคุมเจ้าพนักงานจึงต้องทำการพิสูจน์ว่าตาย
อย่างไร
มาตรา 148 เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัย
ว่าบุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่าง
อยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ให้มีการชันสูตร
พลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย
การตายโดยผิดธรรมชาตินั้น คือ
(1) ฆ่าตัวตาย
(2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
(3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
(4) ตายโดยอุบัติเหตุ
(5) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ
เมื่อได้ผลการชันสูตรพลิกศพแล้ว พนักงานอัยการ
ก็จะต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลทำการ
ไต่สวนว่า ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด เหตุและ
พฤติการณ์ที่ตาย ซึ่งในชั้นนี้ ถ้าสามารถระบุผู้กระทำ
ผิดก็สามารถ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ดังนั้น คำว่า ถูกผู้อื่นทำให้ตาย ส่วนใหญ่จะเป็นการให้ความ
เห็นจากแพทย์ที่ทำการชันสูตรพลิกศพ จึงยังไม่อาจระบุ
แบบชัดๆ ลงไปได้ ซึ่งหน้าที่ในส่วนนี้ก็จะเป็นพนักงาน
อัยการและศาล ที่จะไต่สวนหาผู้กระทำผิดต่อไป
-----------------------------------------------------------------------
เกี่ยวกับ ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ – ทนายความ อาจารย์
นักเขียน คอลัมนิสต์พลาธิปัตย์ และ ออลแม็คกาซีน
ผู้ดำเนินการรายการทีวี สน.บานเย็น ช่อง Newtv 18
แขกรับเชิญในรายการ What's up spring
ช่อง springnews 19 (สามารถติดตามที่ช่องทาง
youtube.com) และแสดงความเห็นด้านกฎหมาย
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ โพสต์ทูเดย์ เป็นประจำ
และรับจ้างรีวิวบทความ
ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของสำนักงานกฎหมายวิรัช
หวังปิติพาณิชย์ งานของสำนักงาน notary public
กฎหมายแพ่ง มรดก กฎหมายแรงงาน ปรึกษากฎหมาย
ว่าความ กฎหมายอาญา โลโก้ โนตารีพับลิค พินัยกรรม
โดยมีหนังสือที่เขียนแล้ว 3 เล่ม วางจำหน่ายที่ร้าน
ซีเอ็ดและ ร้านหนังสือชั้นนำทั้่วไปในชื่อ กฎหมายหลายรส
ติดต่อผู้เขียนและสอบถามคำถามด้านกฎหมายได้ที่...
: facebook.com/tanaiwiratdotcom