การค้ำประกันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
การค้ำประกันรถยนต์ ค้ำประกันเงินกู้
ค้ำประกันคนทำงาน ล้วนแล้วแต่สร้าง
ภาระให้กับผู้ค้ำประกันจำนวนมาก
บางรายอาจผิดหวัง บางรายถึงกับ
ฆ่าตัวตาย เพราะดันไปค้ำประกันให้
กับตัวลูกหนี้และสุดท้ายก็ไม่ยอมจ่าย
เป็นหนี้เป็นสินล้มละลายกัน
แต่หลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ ได้มีการปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยน
แปลงรายละเอียดบางอย่างที่สำคัญ
เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ค้ำประกันอีกชั้น
หนึ่ง ไม่ให้เสียหาย แบบหมดตัว
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ในสัญญาต้องระบุให้ชัดว่าเป็นหนี้อะไร
เท่าไหร่ และผู้ค้ำประกันรับผิดชอบจำนวน
เท่าไหร่ ไม่ใช่เป็นแบบรับผิดชอบทั้งหมด
แบบลูกหนี้ร่วมไม่ได้
2. เมื่อลูกหนี้เบี้ยว เจ้าหนี้ต้องส่งหนังสือ
มาบอกผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับตั้ง
แต่วันที่ลูกหนี้เบี้ยว
3. ถ้าเป็นหนี้ที่มีการกำหนดระยะเวลา
ชัดเจนแล้ว แต่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลา
ให้กับลูกหนี้ อย่างนี้ ผู้ค้ำประกันหลุด
สรุป การกำหนดกฎหมายอย่างนี้ย่อมเป็น
ประโยชน์กับผู้ค้ำประกัน แต่ทางที่ดี
ไม่ค้ำประกันใครดีที่สุด
แล้วกลับมาพบกับบทความของทนายวิรัชได้ใหม่
อย่าลืมส่งต่อบทความให้คนที่คุณรักด้วย
-----------------------------------------------------------------------
เกี่ยวกับ ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ – ทนายความ อาจารย์
นักเขียน คอลัมนิสต์พลาธิปัตย์ และ ออลแม็คกาซีน
ผู้ดำเนินการรายการทีวี สน.บานเย็น ช่อง Newtv 18
แขกรับเชิญในรายการ What's up spring
ช่อง springnews 19 ยกทัพบรรเทาทุกข์
ช่อง PPTV (สามารถติดตามที่ช่องทาง
youtube.com) และแสดงความเห็นด้านกฎหมาย
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ โพสต์ทูเดย์ เป็นประจำ
และรับจ้างรีวิวบทความ
ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของสำนักงานกฎหมายวิรัช
หวังปิติพาณิชย์ งานของสำนักงาน notary public
กฎหมายแพ่ง มรดก กฎหมายแรงงาน ปรึกษากฎหมาย
ว่าความ กฎหมายอาญา โลโก้ โนตารีพับลิค พินัยกรรม
โดยมีหนังสือที่เขียนแล้ว 3 เล่ม วางจำหน่ายที่ร้าน
ซีเอ็ดและ ร้านหนังสือชั้นนำทั้่วไปในชื่อ กฎหมายหลายรส
ติดต่อผู้เขียนและสอบถามคำถามด้านกฎหมายได้ที่...
: facebook.com/tanaiwiratdotcom