ระหว่างนั่งคุยโทรศัพท์กับท่าน บุญร่วม เทียมจันทร์
อดีตอธิบดีอัยการ ปกติท่านจะโทรศัพท์มาคุยเป็น
ประจำเพราะผมกับท่านเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นลูกศิษย์
อาจารย์ ในด้านการเขียนหนังสือ ได้สนทนากับท่าน
ทำให้เปิดสมองเป็นอย่างยิ่ง
ท่านบอกกับผมว่า ตอนนี้ ผมอยู่ในฐานะทนายความ
และสื่อต้องให้ความรู้กับประชาชน เปิดตา เปิดใจ
และข้อมูลรอบด้านไม่ด่วนพิจารณา
อ้าวเลยไปเรื่องอื่น เข้ามาเรื่องลุงวิศวะ หลายคนคง
ได้ดูคลิปกันไปและสรุปว่า ฝ่ายนั้น ฝ่ายนี้ผิด
ป้องกัน เกินไปไหมสมควรแก่เหตุไหม จนมาถึง
คำถามในเชิงหาคำตอบว่า...
ลุงวิศวะ / ป้องกัน / เกินกว่าเหตุ / ไหม?
ก่อนที่เราจะมาหาคำตอบ ต้องเปิดความรู้ก่อนว่า
คำว่าป้องกันนั้น กฎหมายในปัจจุบัน เขาบัญญัติ
ไว้ว่าอย่างไร
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
ได้วางหลักไว้ว่า ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อ
ป้องกันสิทธิของตน หรือ ของผู้อื่น ให้พ้นภยันตราย
ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอ
สมควรแก่เหตุ การกระทำนั้น เป็นการป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด
(เน้นอ่านทำความเข้าใจข้อความสีแดง)
ถ้าคดีนี้หยุดข้อเท็จจริงตามคลิป..
เบื้องต้น พนักงานสอบสวนก็จะเรียกลุงวิศวะ
มาแจ้งข้อกล่าวหาว่า ฆ่าผู้อื่น โดยเจตนา
และข้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลุงวิศวะ ก็มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีในเรื่องของ
การป้องกันตามมาตรา 68 ที่ได้ยกมา
แล้วข้างต้น
เมื่อถึงในชั้นศาล จะเป็นการต่อสู้คดีกันของ
พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ ทำหน้าที่
ทนายความของรัฐ และทนายเอกชนจะ
ทำหน้าที่ของทนายความจำเลยหรือ
ของลุงวิศวะโดยมีกรรมการตัดสินนั้นคือ ศาล
ประเด็นที่จะต่อสู้กันคือ...
ลุงวิศวะ ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ผลการต่อสู้คดีจะออกได้หลายหน้า ดังนี้
1.ผู้พิพากษามองว่า ไม่เป็นการป้องกันตัว
ลุงวิศวะก็ต้องรับผิดในข้อหา ฆ่าคนตาย
2. หากผู้พิพากษามองว่า เป็นการป้องกัน
แต่เกินกว่าเหตุ ตรงนี้ลุงวิศวะ ก็จะต้องรับโทษ
แต่หนักเบาแล้วแต่ดุลยพินิจของผู้พิพากษา
3. และถ้าเกิดผู้พิพากษาในคดีตัดสินว่า
เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตรงนี้ลุงวิศวะ ย่อมไม่มีความผิด
อ่านมาถึงบรรทัดนี้ก็ต้องบอกว่า ยังไม่จบ...
ไม่ว่าผลจะออกเป็นอย่างไรก็ตาม
โจทก์จำเลยยังคงมีสิทธิ อุทธรณ์ ฎีกา ต่อไปได้อีก
ทนายความจำเลยก็อาจจะเปลี่ยนคน
พนักงานอัยการก็อาจจะเปลี่ยนคน
ศาลที่ตัดสินก็ต้องเปลี่ยน เพราะเป็น
คดีในชั้น อุทธรณ์ หรือ ฎีกา
และต้องบอกว่าในการต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์
หรือฎีกาเราก็สู้กันในสำนวนหรือใน
กระดาษแล้ว ผู้พิพากษาในชั้นอุทธรณ์
หรือฎีกาไม่ได้เห็นการต่อสู้คดีในศาลชั้นต้น
พิจารณาจากเอกสารในสำนวนเท่านั้น
จะไม่เห็นการเบิกความมีพิรุธ หรือไม่อย่างไร
ในบางประเทศใช้การบันทึกเป็นวิดิโอ
เพื่อให้ศาลในระดับสูงได้พิจารณา
และสุดท้ายของคดีแม้แต่ในชั้นสุดท้ายคือ ศาลฎีกา
กฎหมายยังเปิดโอกาสให้รื้อฟื้นคดีใหม่ได้อีก
อย่างคดีครูจอมทรัพย์
ดังนั้น ถ้าจะให้สรุปว่า จะผิดหรือถูกคงต้องบอกว่า
ทนายวิรัช คงสรุปไม่ได้ แต่ถ้าบอกว่าให้ความรู้
หรือหลักการเบื้องต้นได้ เพราะปัจจัยของคดีมีมากมาย
อย่างในต่างประเทศเขาก็มีการตัดสินคดีผิด
เหมือนกัน จึงนำระบบคณะลูกขุน ซึ่งก็คือ
คนธรรมดามาฟังข้อเท็จจริงและมีจำนวน
สุงสุด 12 คนมาช่วยกันดูและช่วยกันคิด
เพื่อให้ผิดพลาดน้อยที่สุด
สรุป เปิดใจกว้าง ขอให้พยาน ตำรวจ
พนักงานอัยการทนายความ และศาล
ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ และเราในฐานะ
ประชาชนก็มีหน้าที่ติดตาม ไม่ว่าผล
เป็นอย่างไรก็ต้องถือว่าทุกคนได้
ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว
-----------------------------------------------------------------------
เกี่ยวกับ ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ – ทนายความ อาจารย์
นักเขียน คอลัมนิสต์พลาธิปัตย์ และ ออลแม็คกาซีน
ผู้ดำเนินการรายการทีวี สน.บานเย็น ช่อง Newtv 18
แขกรับเชิญในรายการ What's up spring
ช่อง springnews 19 (สามารถติดตามที่ช่องทาง
youtube.com) และแสดงความเห็นด้านกฎหมาย
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ โพสต์ทูเดย์ เป็นประจำ
และรับจ้างรีวิวบทความ
ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของสำนักงานกฎหมายวิรัช
หวังปิติพาณิชย์ งานของสำนักงาน notary public
กฎหมายแพ่ง มรดก กฎหมายแรงงาน ปรึกษากฎหมาย
ว่าความ กฎหมายอาญา โลโก้ โนตารีพับลิค พินัยกรรม
โดยมีหนังสือที่เขียนแล้ว 3 เล่ม วางจำหน่ายที่ร้าน
ซีเอ็ดและ ร้านหนังสือชั้นนำทั้่วไปในชื่อ กฎหมายหลายรส
ติดต่อผู้เขียนและสอบถามคำถามด้านกฎหมายได้ที่...
: facebook.com/tanaiwiratdotcom