นายจ้าง ! หักเงินเดือนลูกจ้าง ได้ไหม?
เปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาในช่องข้อความ
มีแฟนเพจที่ติดตามสอบถามเข้ามาว่า...
"ผมมาสาย เจ้านายหักเงินเดือนผมครับ"
เขาหักผมได้ไหม ไม่ค่อยจะพอกินเลย
ยังมาหักอีก ช่วยตอบผมด้วยนะครับ
เดี๋ยวผมขอสมัครสมาชิกทนายวิรัชด้วย
ละกัน ผม add line ไปที่ ID tanaiwirat แล้ว
เอาเข้าจริงๆ ลูกจ้าง ส่วนใหญ่ ไม่รู้กฎหมายในเรื่องนี้
นายจ้าง หรือ ฝ่ายบุคคล ก็มักที่จะเอาเปรียบ และใช้
การหักเงินเดือน เป็นอาวุธในการทำให้พนักงานมาทำงาน
ตรงเวลา
ในบ้านเราการมาสาย นอกจากตื่นสายแล้ว
ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้มาสาย อย่างเช่น BTS เสียตอนเช้า
MRT ไม่วิ่งซะงั้น แต่บ้านเราไม่รู้จะอ้างอย่างไร แต่ในญี่ปุ่น
เมื่อใดที่ระบบขนส่งสาธารณะเสีย ทำให้คนไปทำงานสาย
เขาจะออกเหมือนเป็นใบขออภัย หรือ เอกสาร ที่สามารถนำ
ไปใช้ในการลางานได้ ก็หวังว่าสักวันหนึ่งบ้านเราจะมีบ้าง
กลับเข้ามาว่า จริงๆ แล้วหักได้หรือไม่นั้น ผมก็ไปเปิดตัว
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ. 2541 ในมาตรา 76
ซึ่งกำหนดดังนี้...
มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา
ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
(๑) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่าย
หรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(๒) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับ
ของสหภาพแรงงาน
(๓) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่น
ที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือ
หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่
ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอม
ล่วงหน้าจากลูกจ้าง
(๔) เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหาย
ให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจ
หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(๕) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
สรุปชัดชัด....
มาสายหักไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้อนุญาต
-----------------------------------------------------------------------
เกี่ยวกับ ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ – ทนายความ อาจารย์
นักเขียน คอลัมนิสต์พลาธิปัตย์ และ ออลแม็คกาซีน
ผู้ดำเนินการรายการทีวี สน.บานเย็น ช่อง Newtv 18
แขกรับเชิญในรายการ What's up spring
ช่อง springnews 19 (สามารถติดตามที่ช่องทาง
youtube.com) ช่อง PPTVHD 36
รายการยกทัพบรรเทาทุกข์
และแสดงความเห็นด้านกฎหมาย
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ โพสต์ทูเดย์ เป็นประจำ
และรับจ้างรีวิวบทความ
ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของสำนักงานกฎหมายวิรัช
หวังปิติพาณิชย์ งานของสำนักงาน notary public
กฎหมายแพ่ง มรดก กฎหมายแรงงาน ปรึกษากฎหมาย
ว่าความ กฎหมายอาญา โลโก้ โนตารีพับลิค พินัยกรรม
โดยมีหนังสือที่เขียนแล้ว 3 เล่ม วางจำหน่ายที่ร้าน
ซีเอ็ดและ ร้านหนังสือชั้นนำทั้่วไปในชื่อ กฎหมายหลายรส
ติดต่อผู้เขียนและสอบถามคำถามด้านกฎหมายได้ที่...
: facebook.com/tanaiwiratdotcom