ทนายวิรัช..ได้รับคำถาม..จากผู้อ่าน..ท่านหนึ่ง..ถามว่า
ผู้อ่าน: ผมได้ไปหมั้น...ผู้หญิงคนหนึ่ง..โดยได้นำ..แหวนเพชร..
สร้อยคอทองคำ..เป็นของหมั้น...เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า..
จะแต่งงานกัน
ทนายวิรัช: อย่างนี้ก็ดีสิครับ..แล้วจะแต่งงานกันเมื่อไหร่
ผู้อ่าน: ตอนแรกก็ว่าจะแต่งงานกัน..ปลายปีนี้..
ทนายวิรัช: แล้วตั้งใจจะจัดงานที่โรงแรมไหน?
ผู้อ่าน: คงไม่ได้จัดงานแล้วครับ
ทนายวิรัช: ทำไมละครับ?
ผู้อ่าน: อยู่ดีๆ คู่หมั้นเสียชีวิต..จึงไม่สามารถแต่งงานได้..ปัญหาเป็นอย่างนี้...
เมื่อคู่หมั้นเสียชีวิต..ไม่ได้แต่งงานตามที่ตกลงกันไว้..ของหมั้น
ที่ให้ไว้..ก็ควรจะมาเป็นของผมใช่หรือไม่..
พอผมไปทวงของหมั้นคืนกับแม่ฝ่ายหญิง..เขาก็บอกว่าไม่ได้
ให้แล้วให้เลย..เมื่อลูกสาวเขาเสียชีวิต..ทรัพย์สินควรตกเป็นของแม่..
ผมขอถาม...ทนายวิรัชว่า..ผมจะเอาคืนได้หรือไม่..หรือทรัพย์สิน
ทั้งหมดต้องเป็นของแม่ฝ่ายหญิง
ทนายวิรัช: เรื่องนี้..ศาลเคยมีคำตัดสินว่า..ของหมั้น..คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชาย..
นำมามอบให้ฝ่ายหญิง..เพื่อเป็นหลักประกันว่า..จะมาแต่งงาน..
ทรัพย์นั้น..จึงตกเป็นของฝ่ายหญิง..การที่ฝ่ายหญิงตาย..
ก่อนวันแต่งงาน..ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายหญิง..ไม่มีเจตนา..
ที่จะไม่แต่งงาน…ฝ่ายหญิงจึงไม่จำต้องคืนของหมั้น