เกือบไป
ทนายวิรัช ได้รับโทรศัพท์จากท่านผู้อ่านมาปรึกษาดังนี้
ผู้อ่าน : สวัสดีค่ะ..ทนายวิรัช
ทนายวิรัช : สวัสดีครับ
ผู้อ่าน : ดิฉันมีเรื่องจะปรึกษา ทนายวิรัชสะดวกคุยไหมค่ะ
ทนายวิรัช : ยินดีครับ
ผู้อ่าน : ดิฉันรับเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้า
ทนายวิรัช : ทำไมคุณไม่รับเงินสดละครับ
ผู้อ่าน : ไม่สะดวกลูกค้าค่ะ
ทนายวิรัช : ครับ
ผู้อ่าน : เมื่อรับเช็คมาแล้ว เมื่อถึงกำหนด ดิฉัน
ก็นำไปเข้าธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค
ทนายวิรัช : ก็ปกติดีนะครับ..ภายในวันนั้นก็ได้รับเงิน
ผู้อ่าน : มันไม่เป็นอย่างนั้นสิค่ะ..
ทนายวิรัช : ทำไมละครับ
ผู้อ่าน : เจ้าหน้าที่ธนาคารโทรศัพท์มาแจ้งว่า เช็คที่นำเข้าเมื่อเช้า
ธนาคารเจ้าของเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน (เช็คเด้ง)
ทนายวิรัช : อย่างนี้ก็แย่สิครับ
ผู้อ่าน : ก็ไม่แย่มากหรอกค่ะ..คนจ่ายเช็คโทรศัพท์มาขอโทษ
และยินดีจะชำระคืนให้
ทนายวิรัช : ก็ดีสิครับ..เขายังรับผิดชอบ
ผู้อ่าน : ปัญหาคือว่า..เขาแจ้งว่าจะชำระให้...แต่นี้ก็ผ่าน
มาแล้ว 4 เดือน ยังเงียบๆ อยู่ จะสอบถาม
ทนายวิรัชว่ายังดำเนินคดีเช็คให้เขาติดคุกได้หรือไม่
ทนายวิรัช : ไม่ได้ครับ
ผู้อ่าน : อ้าวทำไมละค่ะ...
ทนายวิรัช : คดีเช็ค (อาญา) คุณต้องนำเช็คเด้ง มาแจ้งความกับ
พนักงานสอบสวน(ตำรวจ)ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่ธนาคาร
ปฏิเสธการจ่ายเงิน (วันที่เช็คเด้ง)
ผู้อ่าน : อย่างนี้ก็หมดสิทธิที่จะให้เจ้าของเช็คติดคุกสิค่ะ
ทนายวิรัช : ใช่ครับ
ผู้อ่าน : แล้วไม่มีทางไหนที่จะสามารถเรียกเงินคืนหรือค่ะ
ทนายวิรัช : ยังได้ แต่ต้องมอบหมายให้ทนายความ ฟ้องร้องในคดีเช็ค(แพ่ง)
ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ในเช็ค และถ้าเกินจากนี้
ก็ต้องฟ้องในข้อหาซื้อขาย อายุความ 2 ปี นับตั้งแต่เขาผิดนัด