ความเป็นมาของ กฎหมายมรดก

ในประเทศไทย ตั้งแต่เรียกตัวเองว่า ‘ประเทศสยาม’ มีการบัญญัติกฎหมายลักษณะมรดกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อถึงแผ่นดินในสมัยของ สมเด็จพระเอกาทศรถ พระมหากษัตริย์ องค์ที่ 19 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ใช้กันต่อมาเรื่อยๆ จนมีการแก้ไขซึ่งเป็นปัจจุบัน นั้นก็คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 โดยเริ่มประกาศใช้กับคนไทยทุกคนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478 เป็นต้นมา

https://www.facebook.com/tanaiwiratdotcom

ในประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบประชาธิปไตย อนุญาตให้ประชาชนมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินของตนเอง (เจ้าของทรัพย์สิน) ซึ่งได้กล่าวไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของกรรมสิทธิมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินขอตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้นกับมีสิทธิติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหมายความว่า เจ้าของมีสิทธิใช้ของตนเอง ขาย และรับดอกเบี้ย หรือดอกผล มีสิทธิติดตามเอาคืนหากมีใครมาเอาไป และมีสิทธิขัดขวางไม่ให้ใครมาเอาทรัพย์สินของตนไปได้

กฎหมายได้รับรองสิทธิของความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในระหว่างที่มีชีวิตแล้ว ก็ยังได้เพิ่มการรับรองให้เจ้าของกรรมสิทธิได้ตกทอดกรรมสิทธิไปยังทายาท เช่น ลูก พ่อแม่ พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย หรือบุคคลที่เจ้าของจะยกให้ด้วยการทำพินัยกรรม ซึ่งเป็นเจตนาของการบัญญัติกฎหมายมรดกตั้งแต่โบราณ

นอกจากนี้แล้ว ประเทศไทยมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ประเพณี ศาสนาความเชื่อที่แตกต่างกัน ดังจะเห็นได้จากจังหวัดทางภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล มีการนับถือศาสนาอิสลาม เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับศาสนา จึงมีการบัญญัติ พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตนี นราธิวาส ยะลา และสตูล ทั้งนี้ใน มาตรา 3 ได้กำหนดวิธีการวินิจฉัยคดีไว้ว่า ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกอิสลาม ศาสนิกชนของศาลชั้นต้นในจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ซึ่งอิสลามศาสนิกชนเป็นทั้งโจทก์ จำเลย หรือเป็นผู้เสนอคำขอในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งพาณิชย์ว่าด้วยการนั้น เว้นแต่บทบัญญัติว่าด้วยอายุความ ทั้งนี้ไม่ว่ามีมูลคดีเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้พระราชบัญญัตินี้

หมายความว่า หากคดีที่เกิดขึ้นใน ปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสูตล หากคู่กรณีเป็นอิสลามก็ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ไม่ใช้กฎหมายแพ่งปกติ แต่ไม่รวมถึงอายุความ และให้รวมถึงคดีที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังที่มีกฎหมาย

ผู้สนับสนุน (คลิกชมและซื้อสินค้า เท่ากับสนับสนุนทนายวิรัช)

https://bit.ly/3yybH5W

ต้องการให้ทนายวิรัช ดำเนินการเรื่อง มรดก ผู้จัดการมรดก ต้องทำอย่างไร

การให้บริการด้าน มรดก ผู้จัดการมรดก ของทนายวิรัช ให้บริการอย่างดี และมีความเป็นสากล สนองตอบลูกความทุกท่านอย่างมิตรภาพ ให้คำแนะผลดีผลร้ายของการจัดทำเรื่องมรดกให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกความ

สามารถติดต่อทนายวิรัชได้ที่

  • สายด่วน โทร 0812585681 หรือ
  • add line @tanaiwirat

ทนายวิรัชขอมอบสิทธิพิเศษดังนี้

  • ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
  • นัดหมายได้ทางโทรศัพท์ หรือ ไลน์ จัดส่งเอกสารได้
  • ยื่นคำร้องจัดการมรดกให้อย่ารวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
  • คำสั่งศาล 1 ชุดฟรี ไม่คิดมูลค่า

ประวัติผู้เขียน

▼ ติดตามผมออนไลน์ได้ที่นี่:

►YouTube –https://www.youtube.com/tanaiwiratdotcom

► Facebook – http://facebook.com/tanaiwiratdotcom

► Twitter – http://twitter.com/tanaiwirat

►Line – https://goo.gl/BeprPy

► Website –https://www.tanaiwirat.com/

=====

▼ สนใจผลงานต่างๆ ราคาพิเศษ มาได้ที่ inbox page:

► Facebook: http://m.me/tanaiwiratdotcom

=====

▼ สนใจผลงาน ในรูปแบบต่างๆ ได้ที่:

►สมัครสมาชิกปรึกษากฎหมายรายปี (สอบถามได้) https://goo.gl/BeprPy

►ปรึกษากฎหมายทางโทรศัพท์ (สอบถามได้) https://goo.gl/BeprPy

►ประกันรถยนต์ ประกันสุขภาพ (สอบถามได้) https://goo.gl/BeprPy

►ศูนย์จัดการมรดก (สอบถามได้)https://goo.gl/BeprPy

►Notary public (สอบถามได้) https://goo.gl/BeprPy

►พ็อคเก็ตบุ๊ค กฎหมายหลายรส 2 https://goo.gl/BeprPy

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: OFFICE : 0812585681

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *